ผู้บริโภคในแถบ APAC ต้องการใช้อุปกรณ์ IoT แต่ยังกังวลเรื่องข้อมูลรั่ว

Internet Society ออกรายงานผลสำรวจผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ล่าสุด พบว่าส่วนใหญ่มีอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) ใช้งานอย่างน้อย 1 ชิ้น และมีแผนที่จะซื้อเพิ่มในอนาคต แต่ก็มี 70 – 80% ที่กลัวข้อมูลส่วนบุคคลของตนจะรั่วไหลสู่สาธารณะ หรือดักฟังข้อมูลโดยไม่รู้ตัว
ผลสำรวจนี้รวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้ออนไลน์ 1,000 คนจาก 22 ตลาดในแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งจัดทำขึ้นปีนี้เป็นปีที่ 5 โดยมีสถิติที่น่าใจ ดังนี้
  • 7 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจมีอุปกรณ์ IoT อย่างน้อย 1 เครื่อง และมีเกือบครึ่งหนึ่งที่มีมากกว่า 3
  • 75% ระบุว่าพวกเขาวางแผนที่จะซื้ออุปกรณ์ IoT เพิ่มในอีก 12 เดือนหลังจากนี้ เช่น ทีวีอัจฉริยะ, ตู้เย็นอัจฉริยะ, อุปกรณ์ตรวจวัดสุขภาพ, VR Headset และผู้ช่วยอัจฉริยะอย่าง Google Home เป็นต้น
  • ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลเป็นประเด็นที่ผู้ตอบแบบสำรวจมีความวิตกกังวลมากที่สุด ประมาณ 60% ของผู้ที่ไม่ใช้อุปกรณ์ IoT มีสาเหตุมาจากความกลัวเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
  • 90% ระบุว่าพวกเขาไม่เชื่อมั่นในผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT และ ISP ในการคุ้มครองข้อมูลของพวกเขา
  • 2 ใน 3 ระบุว่าความมั่นคงปลอดภัยถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้ออุปกรณ์ IoT ตามมาด้วยฟีเจอร์ ราคา และยี่ห้อ
  • 81% ยังคงกังวลว่าข้อมูลของตนจะรั่วไหลสู่สาธารณะ ในขณะที่ 73% กังวลว่าแฮ็กเกอร์จะเข้ายึดอุปกรณ์ของตนแล้วเอาไปก่ออาชญากรรม
  • 71% กลัวว่าพวกเขาจะถูกจับตาดูหรือดักฟังข้อมูลโดยไม่รู้ตัว
  • 84% อยากทราบว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลอะไรบ้างและอยากให้มีฟีเจอร์ลบข้อมูลส่วนบุคคลที่เก็บบนอุปกรณ์
ถึงแม้ว่าความมั่นคงปลอดภัยจะเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกคนกังวล แต่กลับมีเพียงแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่เปลี่ยนรหัสผ่านอุปกรณ์ของตนใหม่โดยไม่ใช้รหัสที่มาจากโรงงาน และมีเพียง 1 ใน 3 เท่านั้นที่อ่าน Terms and Conditions ด้าน Privacy
“มีความต้องการที่จะทำให้มั่นใจว่าผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ IoT ปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนบุคคลของผู้บริโภค ปัจจุบันนี้ สิ่งที่พวกเขาทำให้นั้นไม่ได้เพียงพอต่อความกังวลของเจ้าของอุปกรณ์ IoT ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเลย” — Rajnesh Singh ผู้อำนวยการ Internet Society, APAC กล่าว

Comments

Popular posts from this blog

เตือนเว็บ Office 365 ปลอม เสี่ยงถูกหลอกลง Trickbot Trojan ขโมยรหัสผ่าน

แนะนำวิธีเปิดใช้ DNS over HTTPS บน Firefox

Kali Linux for Raspberry Pi 4 ออกแล้ว!