พบแอปพลิเคชันซื้อขาย Cryptocurrency ปลอมขโมยเงินและ Credential ของผู้ใช้งาน

ESET ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ Antivirus ออกมาแจ้งเตือนถึงแอปพลิเคชันปลอมบน Google Play ซึ่งช่วยให้แฮ็คเกอร์สามารถขโมย Credential ของผู้ใช้งาน Poloniex Cryptocurrency Exchange รวมไปถึงเข้าถึงบัญชี Gmail บนอุปกรณ์สมาร์ตโฟนของเหยื่อได้
นักวิจัยจาก ESET พบแอปพลิเคชันปลอม 2 ตัวบน Google Play ที่หลอกผู้ใช้ล็อกอินรหัส Poloniex (หนึ่งใน Crytocurrency ที่ได้รับความนิยม) และอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงบัญชี Gmail โดยนักวิจัยกล่าวผ่านบล็อกว่า “แฮ็กเกอร์พยายามทุกทางที่ทำได้เพื่อเข้าควบคุมการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เพื่อขุดเหมือง Crytocurrency ผ่าน Browser หรือ คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับการแพตซ์ โดยหลอกล่อด้วยเว็บไซต์หลอกลวงและแอปพลิเคชันปลอม
การทำงานของแอปพลิเคชันปลอมทั้ง 2 ตัวมีขั้นตอนดังนี้
  1. แสดงหน้าให้ล็อกอินบัญชีของ Poloniex จากนั้นแอปพลิเคชันก็จะส่ง Credential ไปให้แฮ็กเกอร์ เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการแล้วแฮ็กเกอร์สามารถดำเนินธุรกรรมของผู้ใช้ต่อไปหรือเปลี่ยนการตั้งค่า รวมไปถึงเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้จนผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงบัญชีได้
  2. แอปพลิเคชันปลอมจะขอให้ผู้ใช้ล็อกอินด้วยบัญชี Google ซึ่งโดยปกติ Google แล้วจะมีกระบวนการ ‘2Step Verification’ เพื่อถามสิทธิ์การเข้าถึงของแอปพลิเคชันต่อบัญชี Google ถ้าหากผู็ใช้งานอนุญาติให้สิทธิ์แอปพลิเคชันนี้ แฮ็กเกอร์สามารถได้รับข้อมูลเพื่อดูข้อความในอีเมล ค่าการติดตั้งเริ่มต้นของบัญชี Google และข้อมูลส่วนตัวพื้นฐานของผู้ใช้งาน
  3. เมื่อเปิดใช้งานโปรแกรมเพื่อจะใช้งานแอปพลิเคชันปลอมนี้จะเด้งไปยังหน้าเว็บจริงของ Poloniex ซึ่งต้องให้ผู้ใช้งานล็อกอินอีกครั้ง จากนั้นทุกครั้งที่แอปพลิเคชันทำงานก็จะใช้งานเว็บจริง ดังนั้นผู้ใช้งานจะไม่มีวันรู้ได้เลยว่าโดนหลอกแล้วจนกระทั่งเงินหายไปจากบัญชี
นักวิจัยเสริมว่า “ด้วยการเข้าถึงบัญชี Poloniex และ Gmail แฮ็กเกอร์สามารถแทรกแทรงการใช้งานและลบการแจ้งเตือนการล็อกอินที่ไม่เหมาะสมภายใน Inbox ของเหยื่อ” โดยผู้ใช้งานที่ใช้งาน 2-factor Authentication ปลอดภัยจากการโจมตีที่เกิดขึ้น ทีมวิจัยยังได้แสดงระละเอียดเกี่ยวกับแอปพลิเคชั่นปลอมทั้งสองตัวดังนี้
  • แอปพลิเคชันตัวแรกใช้ชื่อว่า POLONIEX ชื่อผู้พัฒนาคือ Poloniex มีตัวเลขรายงานว่ามีผู้ใช้ติดตั้งแล้ว 5,000 คน ภายในช่วง 28 สิงหาคม – 19 กันยายน
  • แอปพลิเคชันตัวที่สองชื่อว่า POLONIEX EXCHANGE ชื่อผู้พัฒนาคือ POLONIEX COMPANY ปรากฏบน Google Play เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม มีผู้ติดตั้งแล้วกว่า 500 คนในสัปดาห์ที่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ESET ได้แจ้งให้ทาง Google ลบแอปพลิเคชันปลอมสองตัวนี้ออกได้เรียบร้อยแล้ว

Comments

Popular posts from this blog

นักวิจัยปล่อยโค้ดที่ทำให้เกิดจอฟ้ากับเครื่อง Windows จำนวนมากบน GitHub

ผู้เชี่ยวชาญพบมัลแวร์ใช้ Windows BITS เพื่อติดต่อเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

รู้สาเหตุแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน็ตช้าเพราะสายเคเบิลใต้ทะเลขาด