เตือนคนขุดเหมืองเงินดิจิทัลเสี่ยงถูก Satori Botnet โจมตีโดยไม่รู้ตัว

ทีมนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Netlab ของ Qihoo 360 ออกมาแจ้งเตือนถึง Satori Botnet สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งพุ่งเป้าโจมตีผู้ใช้ซอฟต์แวร์ Claymore ในการขุดเหมืองเงินดิจิทัล หลังพบเหยื่อหลายรายถูกเปลี่ยนการตั้งค่าสำหรับใช้ขุดเหมืองเป็นของแฮ็กเกอร์แทน กลายเป็นว่าตนเองถูกหลอกให้ขุดเงินดิจิทัลฟรีๆ
Satori เป็น Botnet เวอร์ชันดัดแปลงของ Mirai IoT DDoS Botnet ชื่อดัง โดยปรากฏโฉมครั้งแรกเมื่อต้นเดือนธันวาคม 2017 ที่ผ่านมา ซึ่งต่างจาก Mirai ตรงที่ แทนที่จะใช้การ Brute Force เพื่อเข้าควบคุมอุปกรณ์ กลับใช้การ Exploit ช่องโหว่ของอุปกรณ์ IoT ที่ใช้เฟิร์มแวร์เวอร์ชันเก่าแทน ได้แก่ CVE-2014-8361 ซึ่งเป็นช่องโหว่บนอุปกรณ์ที่ใช้ Realtek SDK และ CVE-2017-17215 ช่องโหว่บน Router ของ Huawei อย่างไรก็ตาม แค่เพียง 2 ช่องโหว่นี้ ก็ช่วยให้ Satori สามารถเข้าควบคุมอุปกรณ์ได้มากถึง 500,000 – 700,000 เครื่อง
ถึงแม้ว่า C&C Server ของ Satori จะถูกปิดไปแล้วหลังจากที่ปฎิบัติการเริ่มต้นเพียงแค่ 2 สัปดาห์ แต่ล่าสุดทาง Netlab กลับพบ วันที่ 8 มกราคม Satori สายพันธุ์ใหม่เริ่มแพร่ระบาดอย่างช้าๆ และมีการเพิ่ม Exploit เข้าไปอีก 1 รายการ ที่น่าสนใจคือ แทนที่จะพุ่งเป้าโจมตีอุปกรณ์ IoT แบบเดิม Exploit ดังกล่าวกลับถูกใช้โจมตี Claymore ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์สำหรับทำ Cryptocurrency Mining แทน
จากการตรวจสอบพบว่า Exploit ที่เพิ่มเข้ามานี้ใช้โจมตีช่องโหว่บนระบบบริหารจัดการของ Claymore ช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมอุปกรณ์ได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ตัวตน ส่งผลให้แฮ็กเกอร์เปลี่ยนการตั้งค่าของ Claymore ไปให้ขุดเหรียญ Ethereum ให้ตนเองแทน
New pool: eth-us2.dwarfpool.com:8008
New wallet: 0xB15A5332eB7cD2DD7a4Ec7f96749E769A371572d
จนถึงตอนนี้ ผ่านมา 10 วัน พบว่า Satori สามารถทำรายได้จากการแฮ็กซอฟต์แวร์ Claymore ของคนอื่นไปแล้วมากกว่า 1 ETH (ประมาณ 32,000 บาท) แนะนำให้ผู้ใช้ Claymore สำหรับขุดเหรียญรีบตรวจสอบการตั้งค่าของตนและทำการอัปเดตซอฟต์แวร์เวอร์ชันล่าสุดทันที

Comments

Popular posts from this blog

นักวิจัยปล่อยโค้ดที่ทำให้เกิดจอฟ้ากับเครื่อง Windows จำนวนมากบน GitHub

ผู้เชี่ยวชาญพบมัลแวร์ใช้ Windows BITS เพื่อติดต่อเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

รู้สาเหตุแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน็ตช้าเพราะสายเคเบิลใต้ทะเลขาด