GSK ใช้ Analytic Platform หวังลดเวลาการวิจัยและพัฒนายาเหลือเพียง 2 ปี

GlaxoSmithKline (GSK) บริษัทยายักษ์ใหญ่จากอังกฤษ นำ Analytic Platform เข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการวิจัยและพัฒนายาใหม่จาก 8 ปี เหลือเพียง 2 ปี
Mark Ramsey ผู้ดำรงตำแหน่ง Chief Data Office (CDO) ของ GSK ได้ออกมาเผยว่า ทางบริษัทได้ทำการจัดตั้งทีมดูแล Analytic Platform เพื่อใช้กับกระบวนการวิจัยและพัฒนายาโดยเฉพาะ โดยเป้าหมายคือการเร่งขั้นตอนการวิจัยและพัฒนายาตัวใหม่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 8 ปี ไปจนถึง 20 ปี ให้ลดเหลือระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น
GSK มีนักวิจัยกว่า 600 คน ซึ่งเดิมทีใช้ Excel plugin เก็บข้อมูลผลการทดลองต่างๆ ทำให้ขาดความคล่องตัวในการนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปใช้งาน โดยขั้นตอนแรกที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้ คือ จะต้องทำการกำจัดการเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Silo ก่อน เช่น ข้อมูลการทดลองของนักวิจัย จะถูกเก็บแยกจากข้อมูลการทดลองทางคลินิก (Clinical trials) ไปจนถึงข้อมูลจากแหล่งอื่นๆที่ถูกเก็บอยู่อย่างกระจัดกระจาย การนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกันจึงเป็นไปอย่างยากลำบาก ทำให้ Inventory Project กลายเป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดในการเริ่มใช้ Analytic Platform นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำ Machine Learning, Artificial Intellience และ Deep Learning เข้ามาใช้งานอีกด้วย
ปัจจุบัน GSK นั้นมีการศึกษาและนำเทคโนโลยีที่อยู่ใน Hadoop Stack เข้ามาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น Kafka และ Spark, ใช้ StreamSets เพื่อทำ Data ingestion, Tamr ซึ่งใช้ Machine Learning ทำ Data curation, Trifacta ทำ Data wrangling, AtScale เพื่อทำ Business Intelligence และ Zoomdata สำหรับทำ Data Visualization นอกจากนี้ยังผลักดันให้ระบบทำงานบน Container และมีการใช้ Kinetica ซึ่งใช้ GPU ในการทำ Data Analytic อีกด้วย โดยข้อมูลทั้งหมดใช้ Waterline Data ในการเก็บและช่วยในการค้นหา ปัจจุบันข้อมูลทั้งหมดมีขนาดมากกว่า 5 Petabytes และอยู่บน On-premise ทั้งหมด
โดย GSK ยังเผยอีกว่า ปัญหาสำคัญของการนำ Hadoop Stack และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเข้ามาใช้ คือความยากในการเชื่อมต่อเหล่านี้ให้ทำงานผสานกันอย่างลงตัว ปัจจุบันแม้ GSK ยังไม่บรรลุเป้าหมายในลดระยะเวลาการพัฒนายาตัวใหม่เหลือเพียง 2 ปี แต่ระบบ Analytic Platform ก็ช่วยให้เข้าใกล้เป้าหมายนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

Comments

Popular posts from this blog

นักวิจัยปล่อยโค้ดที่ทำให้เกิดจอฟ้ากับเครื่อง Windows จำนวนมากบน GitHub

ผู้เชี่ยวชาญพบมัลแวร์ใช้ Windows BITS เพื่อติดต่อเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

รู้สาเหตุแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน็ตช้าเพราะสายเคเบิลใต้ทะเลขาด