nstagram เพิ่ม 3 ฟีเจอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัย ยกระดับการปกป้องผู้ใช้

Instagram เพิ่มฟีเจอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยใหม่ 3 รายการให้แก่แพลตฟอร์มแชร์รูปภาพของตน เพื่อเพิ่มมาตรการป้องกันให้แก่บัญชีผู้ใช้และข้อมูลที่เก็บอยู่ในนั้น หลังจากที่ตกเป็นข่าวถูกแฮ็กมาหลายครั้ง
Mike Krieger ผู้ก่อตั้งและ CTO ของ Instagram ได้โพสต์แถลงการณ์ลงบน Blog ระบุว่าแพลตฟอร์ม Instagram ได้ทำการอัปเดตด้านความมั่นคงปลอดภัยครั้งใหญ่ ซึ่งช่วยให้บัญชีและการใช้งานของผู้ใช้มีความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยฟีเจอร์ใหม่นี้ประกอบด้วย 3 รายการ ได้แก่
1. รองรับแอปพลิเคชันสำหรับทำ 2-Factor Authentication (2FA) ของ 3rd Party
Instagram เพิ่มการรองรับ 2FA ของ 3rd Party เช่น Duo Mobile หรือ Google Authenticator เพื่อให้ผู้ใช้ล็อกอินเข้าแอปพลิเคชันอย่างมั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้น แทนที่จะใช้ 2FA แบบส่งข้อความผ่านมือถือของตนเองอย่างเดียว ฟีเจอร์นี้เปิดใช้งานได้โดยไปที่ “Settings” แล้วเลือก “Two-Factor Authentication” จากนั้นเลือก “Authentication App” ตามประเภทของการพิสูจน์ตัวตนที่ต้องการ ฟีเจอร์ดังกล่าวจะเริ่มให้บริการในสัปดาห์ที่จะถึงนี้
2. ฟังก์ชัน “About This Account”
ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้ใช้ Instagram สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ใช้ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่ผู้ใช้นั้นๆ เริ่มเล่น Instagram, ประเทศที่อยู่, โฆษณาที่รันอยู่, ชื่อ Username เก่าที่เคยใช้ และ Connection ในโลกโซเชียล เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นบุคคลนั้นๆ จริงได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ใช้สามารถกดใช้ฟีเจอร์นี้ได้จากปุ่มเมนู โดยจะพร้อมให้บริการในเดือนกันยายนนี้ เริ่มจากผู้ใช้ที่มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากก่อน
3. ร้องขอการยืนยันตัวตน
ผู้ใช้ที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงสามารถกดปุ่ม “Request verification” เพื่อร้องขอการยืนยันตัวตนว่าเป็นบุคคลนี้จริงๆ โดยผู้ใช้จำเป็นต้องกรอก Username, ชื่อนามสกุล และอัปโหลดรูปภาพบัตรประชาชน ใบขับขี่ หรือพาสปอร์ตเพื่อเป็นหลักฐานด้วย เมื่อได้รับการยืนยันแล้ว จะมีป้าย Verified สีฟ้าแปะอยู่ข้างๆ ชื่อบัญชี อย่างไรก็ตาม การร้องขอเพื่อยืนยันตัวตนอาจไม่ได้รับการตอบรับกลับเสมอไป
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://instagram-press.com/blog/2018/08/28/new-tools-to-help-keep-instagram-safe/



Comments

Popular posts from this blog

นักวิจัยปล่อยโค้ดที่ทำให้เกิดจอฟ้ากับเครื่อง Windows จำนวนมากบน GitHub

ผู้เชี่ยวชาญพบมัลแวร์ใช้ Windows BITS เพื่อติดต่อเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

รู้สาเหตุแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน็ตช้าเพราะสายเคเบิลใต้ทะเลขาด