Apple อัปเดตอุตช่องโหว่ในหลายผลิตภัณฑ์

วันนี้ Apple ได้ออกอัปเดตเวอร์ชันใหม่ในหลายผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย iOS 12.1, Safari 12.0.1, iCloud สำหรับ Windows, iTunes, watchOS 5.1, tvOS 12.1 และ macOS ซึ่งในการอัปเดตดังกล่าวมีการแก้ไขด้านความมั่นคงปลอดภัยหลายรายการ เช่น การยกระดับสิทธิ์, การเปิดเผยข้อมูล และ การลอบรันโค้ด ดังนั้นแนะนำผู้ใช้ควรทำการอัปเดตผลิตภัณฑ์ที่ใช้งาน
การอัปเดตใน iOS 12.1 มีช่องโหว่ที่น่าสนใจคือหมายเลข CVE-2018-4367 ที่แฮ็กเกอร์สามารถทำการลอบรันโค้ดเพื่อให้ FaceTime โทรออกไปหาคนอื่นได้ ต้องขอบคุณ Natalie Silvanovich นักวิจัยจาก Google Project Zero ที่รายงานช่องโหว่นี้กับทาง Apple เข้ามา
ในฝั่ง macOS Sierra และ High Sierra ได้แก้ไขช่องโหว่หนึ่งที่น่าสนใจโดยทาง Kevin Backhouse นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยได้รายงานพบช่องโหว่หมายเลข CVE-2018-4407 ซึ่งทำให้ macOS High Sierra หรืออุปกรณ์ iOS 11 ที่อยู่ในวงเครือข่ายไร้สายเดียวกันเกิดค้างได้ สาเหตุคือมีช่องโหว่ Heap Overflow ในส่วนโค้ดด้านเครือข่ายบน XNU Kernel ที่ถูกใช้ใน macOS และ iOS ดังนั้นเพียงแค่แฮ็กเกอร์ประดิษฐ์แพ็กเกตอันตรายส่งไปยังอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ในวงเครือข่ายไร้สายเดียวกันก็สามารถใช้งานช่องโหว่ได้ นอกจากนี้นักวิจัยยังลองทดสอบว่าผลิตภัณฑ์ Anti-virus ก็ช่วยอะไรไม่ได้เพราะเป็น Bug ภายในเนื้อโค้ดหลักเอง
ผู้สนใจสามารถดูการอัปเดตของ Apple ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ตามด้านล่าง
Name and information linkAvailable forRelease date
Safari 12.0.1macOS Sierra 10.12.6, macOS High Sierra 10.13.6, and macOS Mojave 10.1430 Oct 2018
iCloud for Windows 7.8Windows 7 and later30 Oct 2018
iTunes 12.9.1Windows 7 and later30 Oct 2018
watchOS 5.1Apple Watch Series 1 and later30 Oct 2018
iOS 12.1iPhone 5s and later, iPad Air and later, and iPod touch 6th generation30 Oct 2018
tvOS 12.1Apple TV 4K and Apple TV (4th generation)30 Oct 2018
macOS Mojave 10.14.1, Security Update 2018-001 High Sierra, Security Update 2018-005 SierramacOS Sierra 10.12.6, macOS High Sierra 10.13.6, macOS Mojave 10.1430 Oct 20


Comments

Popular posts from this blog

นักวิจัยปล่อยโค้ดที่ทำให้เกิดจอฟ้ากับเครื่อง Windows จำนวนมากบน GitHub

ผู้เชี่ยวชาญพบมัลแวร์ใช้ Windows BITS เพื่อติดต่อเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

รู้สาเหตุแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน็ตช้าเพราะสายเคเบิลใต้ทะเลขาด