ผลสำรวจพบผู้บริโภคใน APAC กังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหลจากอุปกรณ์ IoT
Internet Society ได้จัดทำผลสำรวจจากผู้ใช้งานออนไลน์ 1,000 คนจาก 22 กลุ่มตลาดที่กระจายอยู่ใน APAC พบว่าส่วนใหญ่อยากลงทุนเพิ่มกับ IoT แต่กังวลเรื่องของข้อมูลรั่วไหล
ผลสำรวจที่น่าสนใจมีดังนี้
- 70% ของผู้ใช้งานมีอุปกรณ์ IoT อย่างน้อย 1 ชิ้น
- เกือบ 50% มี IoT อย่างน้อย 3 ชิ้น
- 75% บอกว่าภายใน 1 ปีมีแผนจะซื้ออุปกรณ์ IoT เพิ่มอีก เช่น ทีวีหรือตู้เย็นอัจฉริยะ อุปกรณ์สวมใส่ อุปกรณ์ VR หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการออกกำลังกาย เป็นต้น
- 60% ของผู้สำรวจที่ยังไม่มีอุปกรณ์ IoT บอกว่ากังวลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว
- 90% ไม่เชื่อมั่นในผู้ผลิตหรือ Service Provider ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของอุปกรณ์
- 2 ใน 3 กล่าวว่าปัจจัยหลักในการพิจรณาซื้ออุปกรณ์ IoT คือเรื่องความมั่นคงปลอดภัย ตามมาด้วย ราคา ความสามารถและแบรนด์
- 81% กลัวเรื่องข้อมูลรั่วไหล
- 91% กลัวว่าถูกแฮ็กเกอร์ทำการ Hijack อุปกรณ์ไปใช้ก่อคดี
- 72% กลัวแฮ็กเกอร์จะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
- 71% กลัวถูกจับตาดูโดยไม่รู้ตัว
- ครึ่งหนึ่งของคนที่มีอุปกรณ์ IoT ไม่ได้เปลี่ยน Default Password และแบ่งได้หลายเหตุผลประกอบด้วย 30% ตั้งใจไม่เปลี่ยน 10% ไม่รู้วิธีการ และสุดท้าย 50% บอกว่าอุปกรณ์ของตนไม่มีรหัสผ่าน
- ผู้ใช้เพียง 3 ส่วนเท่านั้นที่ได้อ่าน Privacy Term และเงื่อนไขที่อุปกรณ์แสดง
- 90% อยากให้มีมาตรฐานด้านการปกป้องด้านความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัวไว้การันตีในทุกอุปกรณ์ IoT เช่น มีใบรับรองหรือจุดที่น่าเชื่อถือไว้อ้างอิง
- 84% อยากมีทางเลือกเพื่อให้เข้าไปลบข้อมูลส่วนบุคคลออกได้
- 84% ก็ต้องการรู้ว่าถูกเก็บข้อมูลอะไรไปบ้าง
- 83% อยากรู้ว่าข้อมูลที่เก็บไว้ใครเข้าถึงได้บ้าง
- 77% อยากรู้ว่าข้อมูลถูกนำไปใช้ทำอะไร
- 72% อยากรู้ว่าข้อมูลของตนถูกเก็บไว้ที่ไหนกันแน่
Rajnesh Singh ผู้อำนวยการของ Internet Society กล่าวว่า “ลูกค้าต้องการความมั่นใจในตัวผู้ผลิต ผู้ค้า และบริการป้องกัน ว่าข้อมูลของตนนั้นปลอดภัยแต่ปัจจุบันยังไม่มีมาตรการมาตอบสนองผู้บริโภคในส่วนนี้ได้เลย”
Comments
Post a Comment