เตือนโทรจันมือถือ ‘Rotexy’ ปฏิบัติการแล้วกว่า 70,000 ครั้งใน 3 เดือน

พบมัลแวร์บนมือถือฟังก์ชันการโจมตีครบเครื่องที่เป็นได้ทั้ง Banking Trojan และ Ransomware ซึ่งมีการโจมตีเหยื่อไปแล้วกว่า 70,000 ครั้งในเวลาเพียง 3 เดือน โดยก่อนหน้านี้ปี 2014 ทีม Kaspersky ได้ศึกษาการปรากฏตัวขึ้นของมัลแวร์ดังกล่าวพบว่ามีความสามารถในหลายด้าน

ช่องทางการสื่อสารมีหลายช่องทาง

ฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ Rotexy คือสามารถสื่อสารได้ถึง 3 ช่องทางคือ
  • นักวิจัยพบว่ามัลแวร์สามารถรับคำสั่งผ่านทาง Google Cloud Messaging (GCM) ได้ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ JSON แต่ Google เตรียมปิดช่องทางนี้ใน 11 เมษายน ปีหน้าทำให้ช่องทางนี้กำลังจะหมดพิษสงลง
  • มีการรับคำสั่งผ่านเซิร์ฟเวอร์ (C2 หรือ Command and control) เหมือนมัลแวร์ทั่วไปได้
  • สามารถรับคำสั่งเพื่อปฏิบัติการผ่านทาง SMS ของมือถือ
มีรายงานจาก 2 นักวิจัยคือ Tatyana Shishkova และ Lev Pinkman ได้จัดทำเอกสารพัฒนาการของ Rotexy ไว้ว่ามีความโดดเด่น เช่น กระบวนการในการสื่อสารผ่านทาง SMS หรือใช้การเข้ารหัส AES กับคำสั่งที่ส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ C2 ด้วย โดยในช่วงปลายปี 2016 มัลแวร์ได้มุ่งเน้นในเรื่องของการโขมยข้อมูลบัตรธนาคารด้วย Phishing Page ต่อมาก็ยังพัฒนาการกลยุทธ์ให้ดีมากขึ้น

มุ่งขอสิทธิ์ระดับ Admin

Rotexy มีฟังก์ที่สามารถเช็คว่าตัวเองรันอยู่ในระบบจริงหรือไม่และประเทศอะไรซึ่งในกรณีที่ผู้ใช้อยู่ในรัสเซียแล้วติดไปจะทำการลงทะเบียน GCM แต่มัลแวร์ตัวนี้ได้ใช้เทคนิคที่น่ารำคาญในการร้องขอสิทธิ์ระดับ Admin โดยจะวนลูปไปเรื่อยๆ เพื่อจะขอสิทธิ์ให้ได้ สามารถดูรูปตามได้ด้านล่าง

เรียกค่าไถ่

Rotexy ยังมีฟีเจอร์แอบสื่อสารผ่านทาง SMS จากเหยื่อโดยการทำให้โทรศัพท์เป็นโหมดไม่มีเสียงและปิดหน้าจอเมื่อได้รับข้อความ จากนั้นจะโชว์เพจ HTML ที่มีข้อความเรียกค่าไถ่และโชว์รูปอนาจารพร้อมกับทำให้โทรศัพท์อยู่ที่หน้านั้น เคราะห์ดีที่นักวิจัยไปพบว่าสามารถปลดล็อกได้ด้วยการส่งข้อความ SMS ว่า ‘3458’ เพื่อเรียกสิทธิ์ Admin คืนและหยุดการบล็อกของมัลแวร์ โดยหลังจากนั้นมัลแวร์อาจเริ่มขอสิทธิ์ใหม่ ดังนั้นต้องเข้า Safe Mode และไปลบมัลแวร์ออก ซึ่งวิธีการดังกล่าวนักวิจัยย้ำว่าใช้ได้กับเวอร์ชันปัจจุบันของมัลแวร์เท่านั้นแต่ไม่รับประกันกับการพัฒนาของเวอร์ชันใหม่ในอนาคต
อย่างไรก็ตามเหยื่อส่วนใหญ่เป็นประเทศรัสเซียแต่ก็มีรายงานเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นด้วย เช่น ยูเครน เยอรมัน ตุรกี และอื่นๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามัลแวร์มือถือเริ่มได้รับความนิยมและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แล้วนะครับ

Comments

Popular posts from this blog

นักวิจัยปล่อยโค้ดที่ทำให้เกิดจอฟ้ากับเครื่อง Windows จำนวนมากบน GitHub

ผู้เชี่ยวชาญพบมัลแวร์ใช้ Windows BITS เพื่อติดต่อเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

รู้สาเหตุแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน็ตช้าเพราะสายเคเบิลใต้ทะเลขาด