Capital One รายงานพบเหตุข้อมูลรั่วไหล คาดกระทบลูกค้ากว่า 100 ล้านราย

Capital One ได้ประกาศเหตุการณ์ถูกเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้กว่า 106 ล้านรายโดยไม่ได้รับอนุญาติ เช่น Credit Score, ประวัติการจ่ายเงิน, ยอดเงิน, เลขบัญชีธนาคารและเลขประกันสังคมของลูกค้าบางส่วน
หลังจากได้รับรายงานช่องโหว่จากแฮ็กเกอร์รายหนึ่งที่เปิดเผยช่องโหว่ของบริษัทออกมาเมื่อวันที่ 17 ก.ค. หลังจากนั้นบริษัทก็ได้สืบสวนจนพบว่ามีการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตในระหว่างวันที่ 22 – 23 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะกระทบกับข้อมูลของลูกค้ากว่า 100 ล้ายราย โดยสาระสำคัญของผลกระทบต่อข้อมูลมีดังนี้
  • ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากลุ่ม Consumer และธุรกิจขนาดเล็กที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตระหว่างปี 2005 ถึงต้นปี 2019 โดยเป็นข้อมูลส่วนตัวที่บริษัทจะได้รับเมื่อติดตั้งแอปพลิเคชันของบัตรเครดิต เช่น ชื่อ ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล วันเกิด และรายรับ 
  • ข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิต เช่น Credit Score, ประวัติการจ่ายเงิน, ยอดเงิน, รายชื่อติดต่อ, วงเงินสูงสุด เป็นต้น
  • มีข้อมูลเลขประกันสังคมจำนวน 140,000 รายการของลูกค้าได้รับผลกระทบด้วย
  • ข้อมูลเลขบัญชีธนาคาร 80,000 รายการที่เชื่อมกับลูกค้าบัตรเครดิตได้รับผลกระทบ
  • เลขประกันสังคมของชาวแคนนาดาราว 1 ล้านรายได้รับผลกระทบ
สำหรับการเยียวยาเบื้องต้น Capital One ประกาศแจ้งลูกค้าทางอีเมลแล้ว พร้อมกับเสนอบริการติดตามเครดิต รวมถึงแนะนำให้ลูกค้าระงับ Credit Report ไปก่อนเพื่อทำให้การสวมรอยเป็นไปได้ยากขึ้น และหากพบเห็นความผิดปกติให้รีบแจ้งบริษัท ตำรวจ และตัวแทนที่ให้บริการ ทั้งนี้บริษัทเผยว่าตนมีประกันเหตุการณ์ดังกล่าวไว้แล้วที่มีวงเงินครอบคลุมสูงสุดถึง 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และน่าจะพอกับการดูแลค่าใช้จ่ายหลังเหตุการณ์ราว 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามปัจจุบันทาง FBI ได้เข้ารวบตัวผู้ต้องสงสัยชื่อ Paige Thompson ไว้แล้วเมื่อวันที่ 19 ก.ค. เพราะได้เข้าไปแชร์บน GitHub ไว้ว่าตนได้เข้าถึงข้อมูลในเซิร์ฟเวอร์ของ Capital One เพราะตั้งค่า Web Application Firewall ไว้ไม่ดีพอในวันที่ 17 ก.ค. จนมีผู้ใช้รายอื่นแจ้งเบาะแสให้แก่เจ้าหน้าที่

Comments

Popular posts from this blog

นักวิจัยปล่อยโค้ดที่ทำให้เกิดจอฟ้ากับเครื่อง Windows จำนวนมากบน GitHub

ผู้เชี่ยวชาญพบมัลแวร์ใช้ Windows BITS เพื่อติดต่อเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

รู้สาเหตุแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน็ตช้าเพราะสายเคเบิลใต้ทะเลขาด