25 Passwords ยอดแย่ประจำปี 2019 … “123456” ยังเป็นที่นิยมตามคาด



SplashData ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์สำหรับบริหารจัดการรหัสผ่านชื่อดัง ได้ออกมาเปิดเผยถึง 25 รหัสผ่านยอดนิยม หรืออาจเรียกว่าเป็นรหัสผ่านยอดแย่ประจำปี 2019 นี้ ซึ่งอันดับหนึ่งยังคงเป็น “123456” ตามมาด้วย “123456789” ในขณะที่ “password” ตกอันดับจากที่ 2 ไปเป็นอันดับที่ 4 แล้ว
SplashData ได้รวบรวมข้อมูลรหัสผ่านกว่า 5,000,000 รายการที่หลุดออกมาสู่โลกอินเทอร์เน็ตในปี 2019 (ยกเว้นจากเว็บลามก) แล้วทำการจัดอันดับรหัสผ่านที่ได้รับความนิยมสูงสุด 100 อันดับแรก ซึ่งเรียกได้ว่า ถ้าใครใช้รหัสผ่านซ้ำกับ 100 อันดับนี้มีโอกาสเสี่ยงถูกแฮ็กได้อย่างง่ายดาย โดยในปีนี้ รหัสผ่านที่นิยม แต่แย่ที่สุดยังคงเป็น “123456” ส่วน “password” ที่ครองที่ 2 มานานกว่า 5 ปีในที่สุดก็ตกไปอยู่อันดับที่ 4 โดยมี “123456789” และ “qwerty” แซงขึ้นมาอยู่อันดับที่ 2 และ 3 แทน
สำหรับรหัสผ่านที่น่าสนใจที่ปรากฏเข้ามาใหม่ คือ “1q2w3e4r” และ “qwertyuiop” ซึ่งแบบแรกยังคงเป็นการกดแป้นพิมพ์แบบเรียงลำดับแต่ทำเป็นขั้นบันไดแทน ในขณะที่แบบหลังเป็นการเพิ่มความยาวของรหัสผ่านให้ยาวยิ่งขึ้นตามที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกต่างรณรงค์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มของรหัสผ่านยอดแย่อันดับที่ 2 “123456789” ที่มีความยาวถึง 9 ตัวอักษร อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนรูปแบบการเรียงลำดับการกดแป้นพิมพ์ หรือเพิ่มความยาวแบบเรียงต่อจากเดิมดื้อๆ นั้น ยังไม่เพียงพอต่อการรับมือกับแฮ็กเกอร์ได้
SplashData คาดการณ์ว่า อย่างน้อย 10% ของผู้ใช้ทั่วโลกมีการใช้รหัสผ่าน 1 ใน 25 รหัสผ่านเหล่านี้ ในขณะที่ประมาณ 3% ใช้รหัสผ่านที่แย่ที่สุดอย่าง “123456”
เปรียบเทียบรหัสผ่านยอดแย่ประจำปี 2019 และ 2018 ดังตารางด้านล่าง
 25 รหัสผ่านยอดแย่ประจำปี 201925 รหัสผ่านยอดแย่ประจำปี 2018
1.123456123456
2.123456789password
3.qwerty123456789
4.password12345678
5.123456712345
6.12345678111111
7.123451234567
8.iloveyousunshine
9.111111qwerty
10.123123iloveyou
11.abc123princess
12.qwerty123admin
13.1q2w3e4rwelcome
14.admin666666
15.qwertyuiopabc123
16.654321football
17.555555123123
18.lovelymonkey
19.7777777654321
20.welcome!@#$%^&*
21.888888charlie
22.princessaa123456
23.dragondonald
24.password1password1
25.123qweqwerty123

Comments

Popular posts from this blog

นักวิจัยปล่อยโค้ดที่ทำให้เกิดจอฟ้ากับเครื่อง Windows จำนวนมากบน GitHub

ผู้เชี่ยวชาญพบมัลแวร์ใช้ Windows BITS เพื่อติดต่อเซิร์ฟเวอร์ควบคุม

รู้สาเหตุแล้ว ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เน็ตช้าเพราะสายเคเบิลใต้ทะเลขาด