PDPA กฎหมายใหม่ ข้อมูลรั่วไหลจากการโดนแฮกก็ถือว่าผิด
มีการรายงานออกมาว่ารหัสผ่านกว่า 15,000 ล้านบัญชีถูกนำไปขายในตลาดมืด มีบัญชีที่เป็นบัญชีใหม่ไม่เคยถูกวางขายมาก่อนจำนวน 5,000 บัญชี โดยบัญชีทั้งหมดที่วางขายมาจากการโจรกรรมข้อมูลมากว่า 100,000 ครั้ง และสามารถลงชื่อเข้าใช้ได้จริง
การโจรกรรมข้อมูลเพื่อนำไปขายมีจำนวนมากกว่าปีก่อนถึง 3 เท่า โดยเฉลี่ยราคาแต่ละบัญชีจะต่างกัน บัญชีที่มีราคาสูงจะเป็นบัญชีที่สามารถเข้าสู่ระบบขององค์กรได้ โดยมีราคาสูงถึง 200,000 เหรียญสหรัฐฯ ตีมูลค่าเป็นเงินไทยคือ 6,065,400 บาท ถึงแม้จะเป็นราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ก็คุ้มที่จะจ่ายเพราะเมื่อสามารถยึดข้อมูลของบริษัทได้ก็สามารถเรียกเงินค่าไถ่ได้ในจำนวนมหาศาล
แน่นอนว่าความปลอดภัยทางด้านข้อมูลกำลังกลายเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากกฎหมาย PDPA ที่กำลังจะประกาศใช้จริงเร็วๆนี้ เป็นกฎหมายที่ครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งบทลงโทษมีทั้งจำทั้งปรับ และถึงแม้ว่าการรั่วไหลของข้อมูลจะไม่ได้เกิดจากองค์กรโดยตรงก็ตาม แต่องค์กรที่เป็นเจ้าของข้อมูลเหล่านั้นต้องรับผิดชอบกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งการรั่วไหลของข้อมูลแบบไม่ตั้งใจก็มีได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเกิดจากการโดนแฮกหรือการโดนโจมตีจาก Ransomware ก็ตาม
อย่างที่เรารู้กันว่า Ransomware เป็นมัลแวร์ที่ออกแบบมาให้โจมตีข้อมูลสำคัญขององค์กรโดยเฉพาะเพื่อนำไปเรียกค่าไถ่ แต่เมื่อจ่ายเงินไปก็ไม่มีอะไรสามารถการันตีได้ว่าข้อมูลจะถูกปลดล็อค หรือไม่เปิดเผยสู่สาธารณะ ดังนั้นการใช้โซลูชั่นป้องกันภัยคุกคามและการรั่วไหลของข้อมูลจึงกลายเป็นตัวช่วยที่สำคัญ โดยเฉพาะ Ransomware ที่จ้องจะโจมตีข้อมูลต่างๆขององค์กร การใช้ ESET Dynamic Threat Defense ก็เป็นอีกโซลูชั่นที่น่าสนใจเพราะเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ ESET ที่สามารถป้องกัน Ransomware ได้สูงถึง 99.9%
ทดลองใช้ฟรี คลิกลิ้งก์ด้านล่างได้เลย!
https://activemedia.co.th/th/marketing
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.eset.com/th/business/solutions/cloud-sandbox-analysis/
#โปรแกรมป้องกันไวรัส #โปรแกรมแอนตี้ไวรัส #โปรแกรมสแกนไวรัส #ไวรัสคอมพิวเตอร์ #มัลแวร์ #Malware #Cybersecurity #antivirus #BusinessSolution #Ransomware #โปรแกรมป้องกันไวรัสเรียกค่าไถ่ #โปรแกรมเรียกค่าไถ่ #ภัยคุกคาม #โปรแกรมป้องกันRansomware
Comments
Post a Comment